ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์ สามารถทำเองได้  (อ่าน 4 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 484
  • ซื้อขายสินค้ายานยนต์ โพสฟรีสินค้าทั่วไทย
    • ดูรายละเอียด
อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง อาหารทางการแพทย์ สามารถทำเองได้

อาหารสายยาง อาหารเหลว อาหารปั่นผสม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาหารทางการแพทย์ ซึ่งมีความสำคัญกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยมีร่างกายทีไม่ปกติ โดยทั่วไปอาหารปั่นผสมจะมีนักโภชนาการหรือผู้เชี่ยวชาญดูแล เพราะอาหารถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย เพราะเมื่ออาหารเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายผู้ป่วย

และอาหารปั่นผสมจะคำนึงถึงเรื่องของคุณประโยชน์ สารอาหารที่ผู้ป่วยจะได้รับ เพราะผู้ป่วยแต่ละประเภทจะมีสูตรอาหารที่ต่างกัน เพราะผุ้ป่วยแต่ละประเภทมีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้อาหารปั่นผสมนั้น มีจำหน่ายไม่มากนัก หากต้องการจริงๆต้องไปซื้อมาจากโรงพยาบาล และมีค่าใช้จ่ายที่สูง หากอยากนำไปรับประทานที่บ้าน สำหรับบ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียง หรือต้องการดูแล หากจะทำเองที่บ้าน ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด


อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง สำหรับผู้ที่ฟอกไต

อาหารปั่นผสม อาหารสายยาง คืออาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลว สามารถไหลผ่านสายให้อาหารเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้ โดยไม่ติดขัด และสามารถให้สารอาหารและพลังงานที่เพียงพอต่อร่างกายของผู้ป่วย

ปริมาณของวัตถุดิบควรมีสัดส่วนที่เหมาะสมหรือตามใบแพทย์สั่ง เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตรายเมื่อผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ไมเพียงพอ หรือเกินความจำเป็น สูตรอาหารปั่นผสมของผุ้ป่วยไตฟอกนั้น ควรมีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน

และในการเตรียมวัตถุดิบแต่ละครั้ง้องคำนึงถึงความสะอาด และเมื่อทำออกมาแล้วควรรับประทานให้หมดทันที


ข้อควรระวัง ! ในการให้ อาหารทางสายยาง !

การให้อาหารทางสายยาง จะให้เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองทางปากได้ แต่ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารยังสามารถทำงานได้ โดยผู้ดูแลหรือญาติ จะต้องเรียนรู้วิธีการจัดเตรียมและให้อาหารสายยาง เพื่อการได้รับอาหารที่ถูกต้องและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะให้อาหารด้วย

ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยาง ควรให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหาร 30 ml/kg/day of standard 1 kcal/ml ความถี่ในการ feed ควรพิจารณาให้เหมาะสม คือ อาหารจะไม่เหลือค้าง ระวังเรื่องการติดเชื้อ ในกรณีที่ผู้ป่วยต้อง on ETF กลับบ้าน ควรให้คำแนะนำเรื่องการให้อาหารและการดูแลอุปกรณ์ด้วย

ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสะอาด ป้องกันเรื่องของการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาอีกมาก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด