ผู้เขียน หัวข้อ: การรักษา โรคหัวใจ  (อ่าน 15 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 154
  • ซื้อขายสินค้ายานยนต์ โพสฟรีสินค้าทั่วไทย
    • ดูรายละเอียด
การรักษา โรคหัวใจ
« เมื่อ: วันที่ 3 ตุลาคม 2024, 17:05:42 น. »
การรักษา โรคหัวใจ

สำหรับการรักษาโรคหัวใจบางชนิดนั้น อาจรักษาให้หายขาดได้ บางชนิดทำได้เพียงรักษาให้อาการดีขึ้นแต่อาจไม่หายขาด ทั้งนี้ โรคหัวใจที่มีหลากหลายชนิดนั้นย่อมมีวิธีรักษาแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วมีวิธีรักษา ดังนี้

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารไขมันต่ำและอาหารโซเดียมต่ำ ออกกำลังกายแบบพอประมาณอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน รวมทั้งเลิกสูบบุหรี่และลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้โรคหัวใจที่เป็นอยู่แย่ลง

ใช้ยารักษา หากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคหัวใจได้ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาให้รับประทานเพื่อควบคุมอาการของโรค โดยยาสำหรับโรคหัวใจแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของการรักษาโรคหัวใจนั้น ๆ

ใช้กระบวนการทางแพทย์หรือการผ่าตัดรักษา สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์ลงความเห็นว่าไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นกระบวนการรักษาแบบใดก็ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจและระดับความรุนแรงของอาการ


การวินิจฉัย โรคหัวใจ

การวินิจฉัยโรคหัวใจไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ โดยสันนิษฐานจากอาการของผู้ป่วยว่าน่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดใด ในขั้นแรกแพทย์มักทำการตรวจร่างกายเบื้องต้นและถามถึงประวัติการป่วยโรคต่าง ๆ ของผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวของผู้ป่วยก่อนที่จะทำการวินิจฉัยขั้นต่อไป อาจใช้การเอกซเรย์หน้าอก ตรวจเลือด หรือการวินิจฉัยอื่น ๆ ดังนี้

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) กระบวนการตรวจบันทึกสัญญาณไฟฟ้า เพื่อช่วยให้แพทย์ตรวจหาความผิดปกติของจังหวะและโครงสร้างของหัวใจ ผู้ป่วยอาจได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะพัก หรือการตรวจในระหว่างออกกำลังกายที่เรียกว่าการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

การตรวจบันทึกการทำงานของหัวใจ (Holter Monitoring) การตรวจชนิดนี้ใช้ตรวจหาความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจเพิ่มเติม กรณีที่การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติ แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้คอยตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจของคนไข้อย่างต่อเนื่อง โดยเวลาที่ใช้ในการตรวจมักอยู่ที่ 24-72 ชั่วโมง

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง หรือการอัลตราซาวด์ที่หน้าอกเพื่อให้แพทย์มองเห็นการทำงานและโครงสร้างภายในของหัวใจ

การสวนหลอดเลือดหัวใจ โดยการใช้ท่อสั้น ๆ สอดเข้าไปยังหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงบริเวณต้นขาหรือแขน จากนั้นจึงใช้ท่อกลวงที่ยืดหยุ่นและมีความยาวกว่าใส่ไปในท่อสั้นท่อแรก แล้วแหย่หลอดสวนดังกล่าวจนไปถึงหัวใจ โดยระหว่างนี้จะมีภาพจากจอเครื่องเอกซเรย์คอยช่วยนำทาง จากนั้นแพทย์จะวัดแรงดันในห้องหัวใจ หรืออาจฉีดสารทึบแสงเข้าไปด้วย เพื่อช่วยให้มองเห็นการไหลเวียนของเลือดผ่านหัวใจจากเครื่องเอกซเรย์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และยังช่วยตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดและลิ้นหัวใจได้ด้วย

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ (CT Scan) เป็นวิธีที่มักใช้วินิจฉัยโรคเกี่ยวกับหัวใจ ในขณะที่ผู้ป่วยนอนลงบนโต๊ะภายในอุปกรณ์รูปร่างคล้ายโดนัท ท่อเอกซเรย์ภายในเครื่องจะปรับหมุนไปรอบ ๆ ตัวผู้ป่วยเพื่อเก็บภาพของหัวใจและบริเวณหน้าอก

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนลงบนโต๊ะภายใต้เครื่องมือลักษณะคล้ายท่อ ซึ่งจะปล่อยสนามคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา สนามแม่เหล็กนี้ทำให้เกิดภาพและช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความผิดปกติในหัวใจได้