จัดฟันบางนา: ผู้ที่ใส่รากฟันเทียม ห้ามใช้ไม้จิ้มฟันผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วย การผ่าตัดฝังรากฟันเทียม หลายคนคงทราบว่า ภายหลังจากที่ทำการฝังรากฟันเทียมแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องของช่องปาก และควรถนอมและดูแลช่องปากให้ดี เพราะหากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ผู้ทำการรักษา ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย ถึงแม้ว่าผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม จะมีสุขภาพช่องปาก และใช้งานฟันได้อย่างเป็นปกติ แต่ก็ยังข้อจำกัดหลายอย่างที่ผู้เข้ารับการรักษา ไม่ควรทำ หรือเป็นข้อห้ามที่ห้ามทำเด็ดขาด เพราะจะส่งต่อรากฟันเทียมที่ฝังอยู่บนกระดูกขากรรไกร การทำรากฟันเทียม มีจุดประสงค์หลักๆคือ การทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาได้กลับมามีรอยยิ้มที่สดใจ สามารถรับประทานอาหารได้อย่างเป็นปกติ จะส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โดยคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม จะต้องเป็น ผู้ที่ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่เลยและใส่รากฟันเทียมทั้งปากชนิดถอดได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือดที่ควบคุมไม่ได้ ไม่สูบบุหรี่จัด ไม่เคยได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณกระดูกขากรรไกรและลำคอ สามารถรับการรักษาและติดตามผลได้ตามนัด อย่างน้อย 6-7 ครั้ง เพื่อให้การใช้งานรากฟันเทียมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อจำกัดหลายข้อที่ผู้ที่เข้ารับการรักษา ควรหลีกเลี่ยงและไม่ควรทำอย่างแรกเลยคือ การสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะส่งผลโดยตรงต่อรากฟันเทียม รวมไปถึงสุขภาพช่องปากทั้งหมด อาจจะทำให้เกิดคราบหินปูน ก่อนให้เกิดภาวะเหงือกร่น และทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบได้ อีกอย่างหนึ่งก็คือ การใช้ไม้จิ้มฟัน ภายหลังจากการับประทานอาหาร หลายคนคงเคยชินการกับการใช้ไม้จิ้มฟัน แต่รู้หรือไม่ว่า ในกลุ่มผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ถือว่าเป็นอันตรายมาก เพราะการใช้ไม้จิ้มฟัน จะต้องทำการแคะฟัน
ซึ่งแน่นอนส่งผลต่อฟันแน่นอน หากใช้ไปบ่อยๆ ก็อาจจะทำให้ฟันห่างได้ ถือเป็นเรื่องที่อันตรายเช่นกันสำหรับผู้ที่ฝังรากฟันเทียม และสำหรับผู้ที่ทำการฝังรากฟันเทียม และต้องดูแลตนเองอย่ามาก อย่างแรกเลย ต้องแปรงฟันให้สะอาดและถูกต้อง ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน บางกรณีต้องใช้แปรงซอกฟัน เพื่อให้ฟันมีความสะอาดทุกซอกทุกมุม แต่ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันหรือเครื่องมือใดๆ แคะ หรืองัดที่รากฟันเทียม ไม่ควรกัดแทะอาหารกับรากฟันเทียมโดยตรง ที่สำคัญควรไปพบทันตแพทย์ตามนัดหมาย อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือ 6 เดือน ต่อ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสอบช่องปากประจำปี ว่ามีปัญหาช่องปากในจุดไหนบ้าง รวมไปถึงรากฟันที่ได้ทำการฝังไว้ก่อนหน้า ว่ามีความผิดปกติอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้แก้ไขทันหากมีปัญหา
นอกจากการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากแล้ว การรับประทานอาหารก็ถือว่าสำคัญ ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องรับประทานอาหารที่ไม่แข็ง ไม่เหนียวมาก เพราะการรับประทานอาหารที่แข็ง จะต้องใช้แรงบดเคี้ยวที่แรงมาก อาจจะทำให้รากฟันเทียมเกิดการชำรุด หรือขยับได้ และต้องแก้ไขด้วยวีที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นผู้เข้ารับการรักษาจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่แม้แต่ช่วงแรกที่ต้องระมัดระวัง แต่จะต้องระมัดระวังไปตลอด เพื่อให้รากฟันเทียมยังคงความมั่นคง แข็งแรง สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
เพราะถ้ารากฟันเทียมเกิดหลุด หรือชำรุด ทันตแพทย์ผู้ทำการรักษา จะต้องทำการแก้ไขโดยการฝังรากฟันเทียมให้ผู้เข้ารับการรักษาใหม่ ซึ่งจะเสียทั้งเวลา เสียทั้งค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และยังต้องมานั่งเสียเวลาพักฟื้น รวมไปถึงจะต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด รวมไปถึงกระดูกขากรรไกรที่ต้องไก้รับการซ่อมแซมหลังจากที่เคยฝังรากฟันเทียมไปแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งจะถืองว่าเป็นวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อนมากพอสมควร เพราะนั้นการดูแลรักษาผู้เข้ารับการฝังรากฟันเทียมจะต้องเอาใจใส่ให้มากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาดังกล่าว