ผู้เขียน หัวข้อ: หมอออนไลน์: ฝีเต้านม (Breast abscess)  (อ่าน 12 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 200
  • ซื้อขายสินค้ายานยนต์ โพสฟรีสินค้าทั่วไทย
    • ดูรายละเอียด
หมอออนไลน์: ฝีเต้านม (Breast abscess)
« เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน 2024, 16:38:12 น. »
หมอออนไลน์: ฝีเต้านม (Breast abscess)

ฝีเต้านม เป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งคราวในผู้หญิงที่ให้นมบุตรในระยะเดือนแรก ๆ

สาเหตุ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อย ได้แก่ สแตฟีโลค็อกคัสออเรียส ซึ่งจะเข้าไปในเต้านมโดยผ่านทางหัวนมที่ปริหรือแตก ทำให้เกิดเต้านมอักเสบ (mastitis) แล้วไม่ได้รักษาก็จะกลายเป็นฝีเต้านม

การมีนมคัดหรือมีน้ำค้างอุดอยู่ในท่อน้ำนม เนื่องจากทารกดูดไม่หมด เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการติดเชื้ออักเสบได้ง่าย

อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ หนาวสั่น เต้านมจะมีลักษณะบวมแดงร้อนและปวดมาก และต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้ข้างเดียวกับเต้านมข้างที่เป็นฝีจะโตและเจ็บร่วมด้วย ถ้าหากปล่อยไว้บางครั้งฝีอาจแตกและมีหนองไหล

ภาวะแทรกซ้อน

หากไม่ได้รับการรักษาให้ถูกต้องตั้งแต่แรก อาจทำให้เชื้อลุกลามเข้ากระแสเลือดกลายเป็นโลหิตเป็นพิษ


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจพบรอยโรคที่เข้าลักษณะของฝีเต้านม (ตรวจพบไข้ และเต้านมมีลักษณะบวมแดงร้อนและกดเจ็บ)

หากไม่แน่ใจแพทย์จะทำการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ และอาจนำน้ำนมหรือหนองไปตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การรักษาด้วยการเจาะดูดหนองหรือผ่าระบายหนองออก และให้ยาปฏิชีวนะ

หากมีไข้สูง หรือมีอาการรุนแรง แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ทำการผ่าระบายหนอง และให้ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งในช่วงแรกจะให้ทางหลอดเลือดดำ) ให้น้ำเกลือ และให้การรักษาตามอาการ (เช่น ยาลดไข้แก้ปวด)

ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าได้รับการรักษาล่าช้าไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้


การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการปวดเต้านมมาก และเต้านมมีลักษณะบวมแดงร้อน คลำได้ก้อนฝีที่เต้านม ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

เมื่อตรวจพบว่าเป็นฝีเต้านม ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด


ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    หลังจากกลับมาพักฟื้นที่บ้าน มีอาการไข้กำเริบใหม่ เต้านมข้างที่เป็นฝีมีอาการปวดมากขึ้นหรือบวมแดงร้อนมากขึ้น
    ขาดยา ยาหาย หรือกินยาไม่ได้
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินต่อที่บ้าน กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ


การป้องกัน

1. ป้องกันไม่ให้เต้านมอักเสบ โดยปฏิบัติตัว ดังนี้

    หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ และรักษาความสะอาดหัวนมก่อนและหลังให้ทารกดูดนม
    ป้อนนมลูกเป็นเวลาบ่อย ๆ
    ให้ทารกดูดนมทั้ง 2 ข้างพอ ๆ กัน โดยดูดนมให้หมดข้างหนึ่งก่อนค่อยสลับข้าง หากไม่หมดควรใช้นิ้วรีดนมหรือใช้อุปกรณ์ปั๊มนมออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้นมคัดหรือมีนมค้างอุดอยู่ในท่อน้ำนม
    หมั่นเปลี่ยนท่าการให้นมแต่ละครั้ง และจัดท่าให้ทารกดูดนมได้ถนัด
    หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าและเสื้อชั้นในที่คับหรือบีบรัดเกินไป

2. ถ้าสงสัยเต้านมอักเสบ หรือเต้านมมีอาการปวด บวม แดงร้อน ควรรีบไปพบแพทย์ตรวจรักษา หากปล่อยไว้อาจทำให้เป็นฝีเต้านมแทรกซ้อนได้


ข้อแนะนำ

เมื่อมีก้อนที่เต้านม หากเกิดจากการอักเสบเป็นฝี มักมีอาการไข้ หนาวสั่น และก้อนเต้านมจะมีลักษณะะปวดมาก และออกแดงร้อน กดถูกเจ็บ

แต่ถ้ามีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ไม่มีอาการปวดแดงร้อน กดถูกไม่เจ็บ มักจะเป็นก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งเต้านม

อย่างไรก็ตาม หากคลำได้ก้อนที่เต้านม ไม่ว่าจะมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์