ผู้เขียน หัวข้อ: สรุป 7 ขั้นตอนง่ายๆ ต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อน รีไฟแนนซ์บ้าน 2567  (อ่าน 105 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 180
  • ซื้อขายสินค้ายานยนต์ โพสฟรีสินค้าทั่วไทย
    • ดูรายละเอียด
สรุป 7 ขั้นตอนง่ายๆ ต้องเตรียมตัวอย่างไร ก่อน รีไฟแนนซ์บ้าน 2567

การรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นวิธีการที่ช่วยให้สามารถลดดอกเบี้ย หรือเปลี่ยนเงื่อนไขของสินเชื่อบ้านเดิม ช่วยลดค่าใช้จ่ายรายเดือน และเพิ่มความคล่องตัวทางการเงิน เมื่อผ่อนบ้านมาแล้ว 3 ปี อยาก รีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อลดดอกเบี้ยสักหน่อย ต้องเตรียมตัวอย่างไร วันนี้…เรามาแนะนำ 7 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับคนที่กำลังเตรียมตัวจะรีไฟแนนซ์บ้านนะคะ ทำได้แบบนี้ รีไฟแนนซ์บ้าน ผ่านแน่นอน

ขั้นตอนที่ 1 : ประเมินสถานการณ์สินเชื่อของตนเอง
 
หากคิดจะ รีไฟแนนซ์บ้าน ก่อนอื่นเราต้องทราบสถานการณ์ของตนเองก่อนว่า ยอดหนี้ที่เรามียอดคงเหลือเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ เพื่อหาเปรียบเทียบข้อเสนอที่ดีกว่าจากธนาคารอื่นๆ และควรตั้งวัตถุประสงค์ที่ต้องการรีไฟแนนซ์ให้ชัดเจน เช่น ต้องการรีไฟแนนซ์ เพื่อลดดอกเบี้ย เพื่อลดค่างวด หรือเพื่อขยาย หรือลดระยะเวลาในการผ่อนชำระ เป็นต้น
 
ตรวจสอบยอดหนี้ : รู้ยอดหนี้ที่เหลือและดอกเบี้ยปัจจุบัน
 
คำนวณเป้าหมายการรีไฟแนนซ์ : ลดดอกเบี้ย, ลดค่างวด, หรือเปลี่ยนระยะเวลาผ่อน


ขั้นตอนที่ 2 : เปรียบเทียบข้อเสนอจากธนาคารต่างๆ
 
เมื่อทราบสถานการณ์ยอดหนี้ของตนเอง และวัตถุประสงค์ที่ต้องการรีไฟแนนซ์แล้ว เราควรเช็กข้อมูลดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์ของแต่ละธนาคาร เพื่อเลือกเปรียบเทียบธนาคารที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด และตอบโจทย์ความต้องการของเรา ทั้งระยะเวลาการผ่อนชำระ ค่างวดที่ต้องจ่ายต่อเดือน รวมถึงควรพิจารณาเรื่องของโปรโมชันต่างๆ ประกอบด้วย เช่น ยกเว้นค่าธรรมเนียม หรือฟรีค่าประเมิน หรือฟรีค่าจดจำนอง เป็นต้น
 
เปรียบเทียบดอกเบี้ย : เช็กดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของแต่ละธนาคาร เพื่อเปรียบเทียบเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด
 
เงื่อนไขการชำระหนี้ : ตรวจสอบเงื่อนไข ระยะเวลาการผ่อนชำระ ค่างวดขั้นต่ำที่ต้องชำระ ว่าตรงตามความต้องการหรือไม่
 
โปรโมชันพิเศษ : หากธนาคารมีโปรโมชัน ยกเว้นค่าธรรมเนียม, ฟรีค่าประเมินบ้าน, ฟรีค่าจดจำนอง ก็จะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้อีก
 

ขั้นตอนที่ 3 : เตรียมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
 
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะรีไฟแนนซ์กับธนาคารไหน เราควรเตรียมสำรองค่าใช้จ่ายจำเป็นที่จะต้องใช้สำหรับการดำเนินการรีไฟแนนซ์ด้วย
 
ค่าประเมินราคา : ธนาคารใหม่อาจมีการเรียกเก็บค่าประเมินราคาทรัพย์สิน
 
ค่าธรรมเนียมต่างๆ :
▶ ค่าประเมินราคา ประมาณ 3,000 บาท
▶ ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้
▶ ค่าอากรแสตมป์ 0.05%
▶ ค่าประกันอัคคีภัย
▶ ค่าธรรมเนียมสินเชื่ออื่นๆ
 

ขั้นตอนที่ 4 : เตรียมเอกสาร
 
สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อขอรีไฟแนนซ์จะคล้ายกับเอกสารขอสินเชื่อใหม่ค่ะ แต่บางธนาคารอาจจะขอรายการใบเสร็จย้อนหลังสำหรับยอดหนี้ที่ผ่อนชำระมาแล้ว เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของเราอีกทางหนึ่ง
 
เอกสารประจำตัวส่วนบุคคล : สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน
 
เอกสารการเงิน : สลิปเงินเดือน หรือ Statement ย้อนหลัง 6 เดือน
 
เอกสารหลักประกัน : สัญญาสินเชื่อฉบับปัจจุบัน โฉนดที่ดิน
 
เอกสารแสดงการประเมินทรัพย์สิน : ถ้ามี


ขั้นตอนที่ 5 : ยื่นขอรีไฟแนนซ์
 
เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วก็มาถึงขั้นตอนการยื่นเอกสารกับธนาคารใหม่ซึ่งธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ และตรวจสอบประวัติเครดิตของผู้ขอสินเชื่ออีกครั้งก่อนพิจารณาอนุมัติ
 
สมัครรีไฟแนนซ์ : ยื่นคำขอพร้อมเอกสารกับธนาคารใหม่
 
ธนาคารตรวจสอบประวัติ : ธนาคารจะตรวจสอบประวัติเครดิต และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อประกอบการพิจารณา
 
รอการอนุมัติ : เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้วจะได้รับการอนุมัติ


ขั้นตอนที่ 6 : เซ็นสัญญาเงินกู้ฉบับใหม่
 
โดยปกติธนาคารจะให้เราเซ็นสัญญาเงินกู้ฉบับใหม่ พร้อมกับการจดจำนองที่กรมที่ดิน ซึ่งในการเซ็นสัญญาเราควรตรวจสอบเงื่อนไข และรายละเอียดค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างรอบคอบ
 
ลงนามสัญญา : เซ็นสัญญา และจดทะเบียนจำนองกับธนาคารใหม่
 
ชำระค่าธรรมเนียม : ชำระค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง
 

ขั้นตอนที่ 7 : แจ้งยกเลิกสัญญาเงินกู้ฉบับเดิม
 
เมื่อเซ็นสัญญาเงินกู้เรียบร้อยแล้วธนาคารที่เราทำการรีไฟแนนซ์ไป จะออกเช็คจำนวนเงินตามยอดหนี้เพื่อจ่ายให้กับธนาคารเดิมเป็นการปิดสัญญาเงินกู้ฉบับเดิม ทั้งนี้ธนาคารเดิมจะมีเอกสารยืนยันการปิดยอดหนี้ ให้เราเก็บไว้เป็นหลักฐาน
 
ชำระปิดหนี้ : ธนาคารใหม่จะชำระปิดหนี้สินเชื่อบ้านกับธนาคารเดิม
 
รับหลักฐานการปิดหนี้ : เราควรเก็บเอกสารยืนยันการปิดหนี้จากธนาคารเดิมไว้เป็นหลักฐาน


เพื่อให้การ รีไฟแนนซ์บ้าน เกิดประโยชน์สูงสุด เราควรควรศึกษา และเปรียบเทียบข้อมูลอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ นอกจากจะต้องมีดอกเบี้ยบ้านในอัตราที่ต่ำลงแล้ว ยังต้องพิจารณาโปรโมชัน ความสะดวกในการติดต่อทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ประกอบด้วยนะคะ